Skip to content Skip to sidebar Skip to footer

กฎหมายและมาตรฐานกับงานบริการด้าน “วิชาชีพ”

หากกล่าวถึงคำว่า “วิชาชีพ” หรือภาษาเมืองผู้ดีใช้คำว่า “Professional” เรามักจะนึกถึงความหมาย ในเชิงความรู้เฉพาะอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่งที่ต้องศึกษาเรียนรู้กันเป็นพิเศษ หรืออาจจะนึกถึงความหมายอย่างอื่นได้อีก ตามความลึกซึ้งและเสน่ห์ของภาษาไทยที่เป็นหนึ่งในภาษาที่เรียนยากที่สุดในโลก ส่วนในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของ “วิชาชีพ” ไว้ว่า “วิชาที่จะนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ” ซึ่งให้ความหมายได้ตรงตัวเป็นอย่างยิ่ง ส่วนความหมายจากแหล่งข้อมูลแห่งหนึ่งที่ผู้เขียนได้อ่านแล้วมีความเห็นว่าเป็นความหมายที่ครอบคลุมดีมาก คือ “อาชีพที่ประกอบด้วยองค์ความรู้ ทักษะ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรมที่เป็นระบบในระดับที่สูง…(ยาวมากเลยขออนุญาตย่อครับ)…มีสมาคมหรือองค์กรวิชาชีพกำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ ได้ยึดถือประพฤติปฏิบัติมีการออกกฎหมายรับรองสถานภาพของวิชาชีพเป็นที่ยอมรับของสังคม” เมื่อทราบถึงความหมายของ “วิชาชีพ” แล้ว สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพต้องทราบ คือ กฎหมาย ดังจะเห็นได้จากมีคำว่า “กฎหมาย” อยู่ในความหมายของคำว่า “วิชาชีพ” ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ระบุความหมายของคำว่า “กฎหมาย (Law)” ว่าเป็นกฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือเพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ หรือความหมายที่เข้าใจได้ง่ายเกี่ยวกับ กฎหมายคือข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามและมีบทลงโทษหากไม่ปฏิบัติ ดังนั้น กฎหมายจึงมีความสำคัญในวิชาชีพและเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบวิชาชีพต้องยึดถือและปฏิบัติตาม1   กฎหมายด้านวิชาชีพมีการระบุขอบเขต ข้อบังคับและกฎเกณฑ์ต่างๆ…

Read More

การตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ถังโลหะ (LPG steel cylinder) 

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว มีความสำคัญอย่างมาก ในการใช้สำหรับการประกอบอาหารในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมือง ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นก๊าซอันตรายติดไฟ ดังนั้นภาชนะบรรจุจะต้องความปลอดภัยในการบรรจุและการเคลื่อนย้าย จึงจำเป็นที่ต้องมีมาตรฐานในการสร้างถังบรรจุ ในประเทศไทยมีมาตรฐาน มอก.27-2543 ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นข้อกำหนดและควบคุม ส่วนมาตรฐานสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องนี้ เช่น ISO 4706, EN 1442, DOT เป็นต้น At vero eos et accusam การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลงในถังบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว จะต้องอยู่ภายใต้แรงดันดังนั้นการออกแบบ การสร้าง และการทดสอบ ต้องทำตามมาตรฐานอ้างอิง และการควบคุมคุณภาพต้องกระทำโดย หน่วยงานควบคุมคุณภาพภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอกที่มีความรู้ความชำนาญ (Third Party) สำหรับในประเทศไทยผู้ตรวจสอบ (Third Party) จะต้องจดทะเบียนตามกฏหมายกับ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน มาตรฐานการสร้างถังนี้ จะกำหนดแบบ วัสดุ ส่วนประกอบ คุณลักษณะที่ต้องการ เครื่องหมายและฉลาก การชักตัวอย่างและเกณฑ์การตัดสิน การทดสอบและการใช้ และการซ่อมบำรุง ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้ หลักเกณฑ์การสร้างภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว1 การออกแบบ…

Read More