Skip to content Skip to footer

การตรวจสอบภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ถังโลหะ (LPG steel cylinder) 

ก๊าซปิโตรเลียมเหลว มีความสำคัญอย่างมาก ในการใช้สำหรับการประกอบอาหารในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะคนที่อยู่ในเมือง ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นก๊าซอันตรายติดไฟ ดังนั้นภาชนะบรรจุจะต้องความปลอดภัยในการบรรจุและการเคลื่อนย้าย จึงจำเป็นที่ต้องมีมาตรฐานในการสร้างถังบรรจุ ในประเทศไทยมีมาตรฐาน มอก.27-2543 ของสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นข้อกำหนดและควบคุม ส่วนมาตรฐานสากลที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเรื่องนี้ เช่น ISO 4706, EN 1442, DOT เป็นต้น

At vero eos et accusam

การบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว ลงในถังบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว จะต้องอยู่ภายใต้แรงดันดังนั้นการออกแบบ การสร้าง และการทดสอบ ต้องทำตามมาตรฐานอ้างอิง และการควบคุมคุณภาพต้องกระทำโดย หน่วยงานควบคุมคุณภาพภายใน และผู้ตรวจสอบภายนอกที่มีความรู้ความชำนาญ (Third Party) สำหรับในประเทศไทยผู้ตรวจสอบ (Third Party) จะต้องจดทะเบียนตามกฏหมายกับ กรมธุรกิจพลังงาน กระทรวงพลังงาน

มาตรฐานการสร้างถังนี้ จะกำหนดแบบ วัสดุ ส่วนประกอบ คุณลักษณะที่ต้องการ เครื่องหมายและฉลาก การชักตัวอย่างและเกณฑ์การตัดสิน การทดสอบและการใช้ และการซ่อมบำรุง ขั้นตอนการดำเนินการมีดังนี้

หลักเกณฑ์การสร้างภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว1
  1. การออกแบบ ผู้ผลิตต้องจัดทำการคำนวณ แบบ การกำหนดวัสดุ ขนาดรวมถึงข้อกำหนดในเรื่องการเชื่อม (WPS: Welding Procedure Specification) โดยจะต้องมีการทบทวนและอนุมัติจากผู้เกี่ยวข้องที่มีอำนาจลงนาม 
  2. การทดสอบเฉพาะแบบ (Type Test) ผู้ผลิตต้องสร้างถังตามแบบที่ได้รับการอนุมัติ เพื่อทำการทดสอบว่าการออกแบบได้ตามมาตรฐาน จำนวนที่สร้างเบื้องต้นต้องทำตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ถ้าหากมาตรฐานไม่ได้กำหนดต้องมีจำนวนเพียงพอสำหรับการนำมาทดสอบ การควบคุมการสร้างต้องควบคุมตามขบวบการเชื่อมที่กำหนด ควบคุมขบวนการผลิต การทดสอบทำตามมาตรฐานกำหนด เช่น การวัดขนาด เส้นผ่านศูนย์กลาง ความสูง ความหนา ความเอียงของถัง คุณสมบัติวัสดุ (Mechanical Test) ทดสอบแรงดัน(Hydrostatic test) ทดสอบการระเบิด(Burst test) ทดสอบการล้า(Fatigue Test) เป็นต้น เมื่อการทดสอบผ่านตามเกณฑ์กำหนดจะออกใบรับรอง(Type Test certificate)โดยผู้มีอำนาจการอนุมัติตามมาตรฐานนั้นๆ 
  3. การสร้างตามแบบ การสร้าง หรือการผลิตถังเป็นจำนวนมากต้องมีการควบคุมคุณภาพทุกขั้นตอน มีการกำหนดเป็น lot หรือ batch เพื่อจะได้ทวนสอบได้หากมีข้อผิดพลาดในการผลิต การผลิตต้องใช้ขบวนการเดียวกันกับการสร้างเฉพาะแบบ การทดสอบจะต้องมีการชักตัวอย่างของถังเพื่อนำมาทดสอบ การทดสอบก็ต้องทำตามข้อกำหนดตามมาตรฐานการสร้าง และผู้ตรวจสอบจะเป็นพยานในการทดสอบ ผลิตภัณฑ์ได้คุณภาพ ผู้ตรวจสอบจะทำการออกเอกสารรับรองว่าผลิตภัณฑ์มีคุณภาพ(Certificate of Conformity) จึงสามารถนำถังไปบรรจุก๊าซปิโตรเลียมได้ 
  4. ภาชนะบรรจุก๊าซปิโตรเลียม เป็นผลิตภัณฑ์ที่ควบคุมภายใต้กฏหมาย และ มาตรฐานในการสร้าง เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน การใช้งานก็ต้องระมัดระวัง ไม่โยน ไม่กระแทกให้ถังนั้นเกิดความเสียหายเพราะอาจทำให้ถังเกิดการระเบิดได้ และต้องมีการตรวจสอบตามระยะเวลากำหนด